Last updated: 18 พ.ย. 2564 |
Chief Producer ‘ซูมาน อี’ (Soo-Man Lee) แห่ง SM Entertainment (เอสเอ็ม เอ็นเทอร์เทนเม้นท์) เข้าร่วมเป็นวิทยากรกิตติมศักดิ์ สำหรับการประชุมออนไลน์/ออฟไลน์ ‘Breakpoint 2021’ ที่จัดขึ้นในเมืองลิสบอน ประเทศโปรตุเกส โดยมูลนิธิ Solana แพลตฟอร์มบล็อกเชนสาธารณะ เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2564 พร้อมให้การบรรยายภายใต้หัวข้อ “NFT และเศรษฐกิจ Prosumer ที่เปิดขั้นต่อไปของวงการบันเทิง”
การประชุม ‘Breakpoint 2021’ เป็นการประชุมระดับโลกในหัวข้อต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับบล็อกเชน นอกเหนือจากโปรดิวเซอร์ ‘ซูมาน อี’ (Soo-Man Lee) ที่เข้าร่วมในฐานะวิทยากรกิตติมศักดิ์ ก็ยังมีบุคคลสำคัญของอุตสาหกรรมบล็อกเชน และสกุลเงินดิจิทัลเข้าร่วมด้วย อาทิ ผู้ก่อตั้ง Solana คุณ Anatoly Yakovenko, COO ของ Solana คุณ Raj Gokal, CEO ของบริษัท Circle ผู้ออกเหรียญ USDC Stablecoin คุณ Jeremy Allaire, ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทการลงทุนเฮดจ์ฟันด์คริปโต Multicoin Capital คุณ Kyle Samani และอีกมากมาย
โปรดิวเซอร์ ‘ซูมาน อี’ (Soo-Man Lee) เริ่มเปิดการบรรยายในวันนั้น ดังนี้
“ด้วยสังคมดิจิทัลแบบ ‘ไม่เผชิญหน้า’ (non-face-to-face) ที่ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ความต้องการโอกาสทางธุรกิจในอนาคตในความเป็นจริงเสมือน (virtual reality), เมทาเวิร์ส (metaverse) และ NFT (Non-Fungible Token; สินทรัพย์ดิจิทัล) กำลังเติบโตอย่างน่าทึ่งครับ โลกในอนาคตที่ผมและ SM นึกถึงคือ โลกของหุ่นยนต์และคนดัง นอกจากนี้ ผมหวังว่าเราจะเข้าสู่โลกของอวาตาร์กันก่อน และเราได้เตรียมการสำหรับยุคของคอนเทนต์ในอนาคตมาหลายปีแล้วครับ เมื่อเดือนพฤศจิกายน ปี 2020 เราได้เปิดตัวเกิร์ลกรุ๊ปเมทาเวิร์สที่ชื่อว่า aespa (เอสป้า) เกิร์ลกรุ๊ปวงแรกที่มาพร้อมโลกทัศน์เมทาเวิร์ส ที่มีสมาชิกร่วมกับอวาตาร์ที่อยู่ในโลกเสมือนจริง ซึ่งอวาตาร์ถูกสร้างขึ้นมาจากพวกเธอเอง อีกทั้งยังได้รับความสนใจอย่างมากจากทั่วโลกตั้งแต่เดบิวต์ เนื่องด้วยความนิยมที่เพิ่มขึ้นของ aespa (เอสป้า) คอนเซปต์ของเมทาเวิร์สจึงได้รับความสนใจในอุตสาหกรรมบันเทิง เช่นเดียวกับเพลงเมกะฮิตของวง ‘Next Level’ หลายคนก็สนใจว่า “ขั้นต่อไป” ของอุตสาหกรรมบันเทิงจะเป็นอย่างไร”
โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้เน้นย้ำถึงพลังของประเทศเกาหลี ที่เป็นขุมพลังด้านเมทาเวิร์สและคอนเทนต์ ดังนี้
“ในฐานะที่เป็นประเทศแห่งขุมพลังด้านวัฒนธรรมระดับโลกและ Early Adopter นั้น เกาหลีนำหน้าในเรื่องของเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างเมทาเวิร์ส (metaverse) และ AI แม้ขนาดของตลาดจะค่อนข้างเล็กเนื่องจากจำนวนประชากรของเกาหลี แต่ประชากรกลุ่มนี้ สามารถเติบโตในโลกเสมือนจริงผ่านอวาตาร์ และขยายตลาดได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุดครับ ด้วยการสร้างจักรวาลใหม่ผ่านโลกเสมือนและเมทาเวิร์ส และด้วยการขยายตลาด ผมคาดว่า ประเทศเกาหลีจะกลายเป็นผู้นำด้านคอนเทนต์เมทาเวิร์ส (metaverse) และ NFT”
พร้อมกล่าวเพิ่มเติมว่า “เมทาเวิร์ส คือ จักรวาลใหม่ที่สิ่งที่ไม่มีอยู่ในโลกจริงสามารถเป็นไปได้ เมทาเวิร์สที่ผมนึกถึง ไม่ใช่เพียงแค่สิ่งหนึ่งที่มีองค์ประกอบเป็นความเสมือนเท่านั้น แต่เป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับความรู้สึกอันแท้จริงของเราครับ เมทาเวิร์สที่เหนือไปกว่าการสะท้อนความเป็นจริงที่เราอาศัยอยู่ เช่นเดียวกับ “การจำลอง” ที่เราสามารถทดสอบและผลิตผลิตภัณฑ์ใหม่ที่เราวางแผนเอาไว้ในโลกเสมือนจริงได้ครับ ด้วยการทดลองไอเดียใหม่ๆ และทำการตลาดให้กับผลิตภัณฑ์เช่นเดียวกับการที่เราทำจริง ตลอดจนผ่านกระบวนการทดสอบและความผิดพลาดล่วงหน้านั้น เราจะสามารถผลิตผลิตภัณฑ์ใหม่เหล่านี้ได้อย่างมีรายละเอียดและความแม่นยำมากขึ้น ในความเร็วที่เร็วขึ้นแม้แต่ใน “ชีวิตจริง” ที่แท้จริงของเราครับ เราสามารถประยุกต์, ใช้งาน และใช้ประโยชน์สิ่งนี้ในความเป็นจริงเพื่อเข้าถึง “ชีวิตจริง” ที่ดีขึ้นได้ กล่าวคือ หากผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่ได้รับการยืนยันในโลกเสมือนจริงที่ซึ่ง “การจำลอง” เป็นไปได้นั้น สามารถนำมาใช้กับสินค้า, ผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมและสิ่งจำเป็นอื่นๆ อีกมากมายที่เราใช้ในความเป็นจริงได้ เราก็จะพบกับจุดเปลี่ยนในอนาคตของเรา ที่ไม่เคยพบเห็นมาก่อนในประวัติศาสตร์ของมนุษย์ โลกใหม่จะถูกเปิดครับ โดยในโลกของหุ่นยนต์และเมทาเวิร์ส ผมคิดเชิงบวกว่า มนุษย์จะยังคงเติบโตทางวัตถุ วัฒนธรรมและจิตใจ และมีชีวิตที่ดีขึ้นครับ”
นอกจากนี้ โปรดิวเซอร์ ‘ซูมาน อี’ (Soo-Man Lee) ยังกล่าวถึงการรวมเมทาเวิร์สเข้ากับอุตสาหกรรมบันเทิง ดังนี้
“SM และผม ตอนนี้พวกเราวางแผนที่จะนำยุคคอนเทนต์ในอนาคต ผ่าน SMCU ซึ่งเป็นโลกทัศน์เสมือนจริงขนาดใหญ่ที่รวมกับเมทาเวิร์สครับ SMCU หรือ SM Culture Universe คือ โลกความบันเทิงในอนาคตอันไร้ซึ่งขอบเขตระหว่างความเป็นจริงและความเสมือนจริง ที่เชื่อมต่อโลกผ่านวัฒนธรรมครับ มันเป็นคอนเทนต์เมทาเวิร์สในอนาคตที่ SM ปรารถนาจะบรรลุผล และสามารถมองได้ว่าเป็นรูปแบบใหม่อย่างสิ้นเชิงของ IP ทางวัฒนธรรมที่ไม่เคยพบเห็นมาก่อนในแนวดนตรีที่มีอยู่ครับ โดยผ่าน SMCU นี้ SM วางแผนที่จะให้ความสำคัญกับการใช้รูปแบบต่างๆ ของ IP อิสระ อาทิ ศิลปิน ดนตรี มิวสิกวิดีโอ และการแสดง เพื่อเชื่อมต่อและขยายเข้าด้วยกัน เพื่อสร้าง IP คอนเทนต์เมทาเวิร์สโดยตรง”
“ยกตัวอย่าง ในวิดีโอ SMCU ล่าสุด พวกเราได้แนะนำประเภทคอนเทนต์คลิปแบบผสมที่เรียกว่า ‘CAWMAN’ ซึ่งเป็นคำศัพท์ที่ผสมผสานมาจาก C ของ Cartoon, A ของ Animation, W ของ Web-toon, M ของ Motion graphic, A ของ Avatar และ N ของ Novel พวกเรามุ่งมั่นที่จะนำเสนอประสบการณ์คอนเทนต์ในอนาคตใหม่อย่างสิ้นเชิงด้วย CAWMAN ครับ เช่นเดียวกับแพลตฟอร์ม TikTok ช่วงนี้ เราได้เห็นว่าคนหนุ่มสาวรุ่น MZ คุ้นเคยและชื่นชอบคอนเทนต์ที่สั้นกว่าอย่างไร ในทำนองเดียวกันก็จะเข้าใจ CAWMAN ได้ง่ายขึ้น เพียงแค่มองว่า มันเป็นเทคนิคการถ่ายทอดวิดีโอแบบใหม่ที่ผสมแนวเพลงต่างๆ เข้าด้วยกันเพื่อดำเนินเรื่องต่อ”
“เมื่อความสำคัญของคอนเทนต์เพิ่มขึ้น Prosumer (ผู้บริโภค) ทั่วโลกจะผลิตคอนเทนต์ที่สร้างขึ้นใหม่และไปถึงจุดสูงสุดของเมทาเวิร์สครับ เพื่อสนับสนุนกิจกรรมของ Prosumer (ผู้บริโภค) เหล่านี้ ทาง SM ได้เริ่มโปรเจกต์ 'PINK BLOOD' ที่หมายถึงแฟนๆ ของเราที่รักเนื้อหาของเราต่อไป ฉะนั้น เราจึงเรียกว่า “เลือดสีชมพู” ในเส้นเลือดของพวกเขา ซึ่งเป็นสีสัญลักษณ์ของ SM ครับ”
“เมทาเวิร์สจะมอบพื้นที่ที่ Prosumer (ผู้บริโภค) สามารถเล่นและสร้าง เพื่อไปถึงขั้นสูงสุดของการสร้างสรรค์ที่มนุษย์ได้รับอนุญาตจากพระเจ้าครับ เมทาเวิร์สนี้ ต้องเป็นสถานที่สำหรับการสร้างสรรค์ที่ Prosumer (ผู้บริโภค) สามารถเล่น เพลิดเพลิน และสร้างได้อย่างอิสระ”
“Killer content ที่ SM สร้างและเป็นเจ้าของนั้น จะกลายเป็นคอนเทนต์ที่สามารถสร้างใหม่ได้ (Re-Creatable content) อย่างนับไม่ถ้วนโดย Prosumer (ผู้บริโภค) และผู้ผลิตรายอื่นๆ ซึ่งพวกเราจะแบ่งปันและสามารถนำไปทำเป็นคอนเทนต์สร้างใหม่ (Re-Created content) เพิ่มเติมได้ ผู้ผลิตของเราและผมจะแนะแนวทางแก่พวกเขา และสร้างคอนเทนต์ที่สามารถสร้างใหม่ได้ (Re-Creatable content) เพื่อมอบพื้นที่สำหรับ Prosumer (ผู้บริโภค) ในการสร้างคอนเทนต์สร้างใหม่ (Re-Created content) ดังกล่าว”
ตามด้วยการกล่าวถึงความสัมพันธ์กับ NFT จากแนวทางของคอนเทนต์ที่สามารถสร้างใหม่ได้ (Re-Creatable) ดังนี้
“โลกทัศน์เมทาเวิร์สร่วมด้วยคอนเทนต์ที่ต่างมีเรื่องราว และคอนเทนต์ทั้งหมดที่ประกอบขึ้นเป็นโลกทัศน์เมทาเวิร์สนั้น ทั้งหมดจะเชื่อมต่อกันผ่าน NFT เราจำเป็นต้องบรรลุรูปแบบที่ Prosumer (ผู้บริโภค) นับร้อยนับพันคนจากทั่วโลกสามารถร่วมมือกัน เพื่อขยายความคิดสร้างสรรค์และสร้างคอนเทนต์ NFT เดียว และได้ส่วนแบ่งเปอร์เซ็นต์เป็นการตอบแทนครับ คอนเทนต์ NFT ที่สร้างขึ้นในลักษณะนี้ จะมี “มูลค่าตลอดชีพ” มันจะไม่ใช่คอนเทนต์ที่เสื่อมสลายหายไปหลังจากบริโภคเพียงครั้งเดียว แต่เป็นคอนเทนต์ที่มีมูลค่าตลอดชีพและสามารถเป็นเจ้าของได้โดย Prosumer (ผู้บริโภค), ผู้ผลิต และผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ กล่าวคือ NFT เป็นบล็อกเชน (blockchain) ที่ช่วยให้คอนเทนต์มีมูลค่าตลอดชีพครับ คอนเทนต์เมทาเวิร์สจะได้รับการคุ้มครองและไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ผ่านบล็อกเชน (blockchain) อีกทั้งยังสามารถติดตามความเป็นเจ้าของได้ เช่นเดียวกับของสะสมที่เป็นภาพวาด มูลค่าของคอนเทนต์เมทาเวิร์สอาจมีการกำหนดราคาด้วยเหรียญ หรืออย่างที่ผมจะพูดถึงในภายหลัง ยุคใหม่จะเปิดขึ้น ซึ่งมันสามารถแลกเปลี่ยนได้เหมือนสกุลเงิน หรือผ่านระบบการแลกเปลี่ยนแบบดั้งเดิม ธุรกรรมทางคอนเทนต์ผ่าน NFT จะมีการใช้งานมากขึ้น เหมือนกับการซื้อขาย Cryptocurrency (สินทรัพย์ดิจิทัลประเภทหนึ่ง) ผ่านแพลตฟอร์มการซื้อขาย ซึ่งแพลตฟอร์มการซื้อขายสำหรับ NFT ก็จะมีความสำคัญเช่นกัน นอกจากนี้ เราจำเป็นต้องสร้างสภาพแวดล้อมที่ Prosumer (ผู้บริโภค) สามารถมีส่วนร่วมได้โดยไม่ต้องทำการค้าหรือชำระเงิน ถ้าไม่มี Prosumer (ผู้บริโภค) ก็ไม่มีประโยชน์อะไร หาก NFT ได้รับมูลค่าเป็นสกุลเงิน แทนที่จะเป็นผลงานทางศิลปะ บทบาทของแพลตฟอร์มการซื้อขายนี้ก็จะมีความสำคัญมากขึ้น มันเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้ที่สร้างคอนเทนต์และใช้ประโยชน์เมทาเวิร์ส เพื่อคิดและสร้างอนาคต”
ก่อนจะปิดท้ายการบรรยายว่า “เป็นเวลานานแล้วที่ SM และผมได้ลองสิ่งใหม่ๆ โดยการผสมผสานวัฒนธรรมและเทคโนโลยีเข้าไว้ด้วยกันครับ ต่อไปในอนาคตเราก็จะยังเผชิญกับความท้าทายด้านนวัตกรรม ผ่านดนตรี วิชวล การแสดง และอื่นๆ ครับ เราจะพยายามให้ความช่วยเหลือในการกำเนิดของคอนเทนต์ที่ถูกสร้างขึ้นใหม่มากมาย และทำงานเพื่อสร้างจักรวาลแห่งคอนเทนต์อันไม่มีที่สิ้นสุดครับ”
แฮชแท็กอย่างเป็นทางการ: #이수만 #SOOMANLEE #SMEntertainment #SMTOWN